วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์         สำหรับงานบางประเภทที่ต้องมีการป้อนข้อมูลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร   หรือสำนักงานประจำสายการบิน งานเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลเข้าระบบ  computer  มีความจำเป็นมาก และ เป็น
งานที่เสียเวลาและแรงงาน งานป้อนข้อมูลจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย
        ทางด้านอุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า Input แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งไม่รวมถึง input ด้วยระบบสื่อสารข้อมูล
        กลุ่มที่ 1   ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนด้วยตัวอักษร นั่นนั่นคือ แป้นพิมพ์ หรือ keyboard ซึ่งจะอ่านตัวอักษรและตัวเลขจากแป้นพิมพ์ตามที่ผู้พิมพ์กด เข้าไปเก็บไว้ใน Computer การป้อนข้อมูลเข้าแบบตัวอักษรอีกแบบหนึ่ง คือประเภทบัตรเจาะรู เครื่องอ่านบัตรเจาะรูจะอ่านเป็นรหัส อักขระตามที่ผู้ใช้เจาะไว้    แต่ปัจจุบันบัตรเจาะรูไม่ได้ใช้กันแล้ว

  บัตรเจาะรู
        กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง การป้อนแบบนี้มีลักษณะเป็นการป้อนแบบ Graphic อุปกรณ์ที่เด่นชัดคือ Mouse ปากกาแสง Joystick Trackball
        กลุ่มที่ 3 เป็นการอ่านข้อมูลเป็นรูปภาพเข้ามาเก็บใน computer ได้แก่พวก Scanner , OCR หรือเครื่องอ่านตัวอักษรจากภาษาที่แสดง ได้ (ปัจจุบัน OCR ในภาษาอังกฤษได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ สำหรับภาษาไทย
ยังไม่ประสพผลสำเร็จ) เครื่องอ่านรหัสแถบ (Bar code)
        กลุ่มที่ 4 เป็นการป้อนข้อมูลด้วยเสียงได้แก่ระบบการจดจำเสียงพูด (Speech recognition) เป็นระบบทบทวนและตรวจสอบเสียงปัจจุบันยังไม่ได้ผลพอที่จะนำมาใช้งานอย่างจริงจัง   เนื่องจากเสียงของคนแต่ละคนต่างกัน
แม้แต่คนคนเดียวกันพูดสองครั้งยังไม่เหมือนกัน จึงยังนำมาใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้
        กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยตัวตรวจจับพิเศษ เช่น Switch, Sensor วัดด้าน อุณหภูมิ ความดัน แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณอนาลอกเป็น ดิจิตอล การป้อนข้อมูลแบบอัตโนมัตเป็นระบบ ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
        แป้นพิมพ์  อุปกรณ์อินพุตขั้นพื้นฐาน
        การพิมพ์เป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกของโลกมี หลักฐานยืนยันว่ามีผู้ประดิษฐ์มาแล้วเกือบ 300 ปี แต่เครื่องพิมพ์ดีดที่ได้รับการจดทะเบียนและบันทึกหลักฐานไว้โดย เ?นรี่ มีล เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2257 พัฒนาการของพิมพืดีดก็ก้าวหน้าขึ้นมาเป้นลำดับ ครั้นถึงยุคสมัยอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ดีดจึงได้รับการนำมาใช้เป้นอุปกรณ์ ป้อนตัวอักษรให้กับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยุคแรกๆโดยเริ่มจากการป้อนผ่านบัตรเจาะรูแล้วให้เครื่องอ่านบัตรเจาะรูอีกครั้งหนึ่ง การป้อนข้อมูลตัวอักขระในยุคแรกจึงเน้นการป้อนข้อมูลเข้าด้วยรหัส ทางบริษัทไอบีเอ็มได้กำหนดรหัสตามโซน
ของรูที่เจาะ ซึ่งเรียกว่ารหัสเอปซีดิกมาจนถึงปัจจุบัน
      ความเป็นมาในการหาวิธีป้อนข้อมูลด้วยวิธีอื่น
        การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยแป้นพิมพ์ตัวอักขระยังสร้างความยุ่งยากต่อผู้ใช้ในบางเรื่อง เช่น ต้องจดจำข้อความที่เป็นคำสั่ง การป้อนคำสั่งจะต้องใช้ตัวอักษรหลายตัวเรียงต่อเนื่องกัน ทำให้เสียเวลา ระยะหลังจึงมีคนคิดพยายามหา
วิธีการป้อนข้อมูลในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะสัญลักษณ์ทางกราฟิก เนื่องจากสามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ดีกว่าตัวอักษรเสียอีก ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ ในสมัยปัจจุบันจึงหันมาใช้ระบบ GUI-Graphic User Interface กันมาก และมีแนวทางที่จะแพร่หลายต่อไปอีกในโอกาสข้างหน้า
        จุดเริ่มต้นของความพยายามหาอุปกรณ์อินพุตมาช่วยงาน โดยเฉพาะในระบบของการติดต่อกับคอมพิวเตอร์มีมากกว่า 30 ปีแล้ว และมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากปีค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยอินพุตแบบต่างๆ ขึ้นมาใช้กันมาก
        กระดาษสเก็ตช์เป็นจุดเริ่มต้น
        กระดาษสเก็ตช์ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กับกราฟิกรุ่นแรก จุดเริ่มต้นของกระดาษสเก็ตช์เริ่มจากนายอิเวน อี. ซูเธอร์แลนด์(Ivan E. Sutherland) ได้ออกแบบสร้างขึ้นในขณะที่เขาเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่เอ็มไอทีเมื่อ
ปีค.ศ. 1962 และเสนอวิทยานิพนธ์ด้วยการใช้กระดาษสเก็ตช์เป็นอุปกรณ์อินพุตสำหรับระบบกราฟิกเพื่อการเขียนรูป ระบบกราฟิกที่ใช้นี้ได้รับการพัฒนาบนเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ TX-2 ของเอ็มไอที ดังรูป
          ในระหว่างนั้นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กำหนดรูปภาพทางกราฟิกมีให้ใช้แล้วคือ ปากกาแสง แต่ปากกาแสงมีข้อจำกัดคือ ใช้กำหนดจุด การลากเส้น แต่กระดาษสเก็ตช์ยังให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก เช่น กำหนดขนาดของเส้น ความสัมพันธ์ของรูปกราฟิก ซูเธอร์แลนด์ได้พัฒนาระบบกราฟิกที่ใช้หลักการของวินโดว์มีการขยายหรือย่อภาพได้
เรื่องราวเกี่ยวกับเม้าส์
          ช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 การใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่รู้จักกันดีคือปากกาแสง การใช้ปากกาแสงจะต้องชี้ตำแหน่งลงไปบนจอภาพ และต้องยกออกจากจอภพไปมา ทำให้ยุ่งยากต่อการใช้และที่สำคัญคือเทคโนโลยีของปากกาแสงต้องรอให้จอภาพสแกน
จุดสว่างวิ่งไปทั้งจอเพื่อซิงก์กับตัวรับที่ปากกา จึงต้งอาศัยเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนและทำให้มีราคาแพง
          ในปี ค.ศ. 1964 Engelbart ได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่มีในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ ปากกาแสง จอยสติ๊ก ตลอดจนอุปกรณ์ลากเส้นกราฟที่ต่อกับโพเทนซิโอมิเตอร์ เขาพบว่าอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเหล่านั้นยังใช้งานได้ไม่ดีนักโดยเฉพาะการที่จะใช้ชี้ตำแหน่งและลากเส้นบางอย่างไปด้วยกัน พลันเขาก็นึกไปถึงอุปกรณ์ที่เขาใช้ร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นในปี ค.ศ. 1940 ที่ใช้ในการวัดพื้นที่ที่เรียกว่า พลานิมิเตอร์(planimeter) ซึ่งประกอบด้วยแขนสองแขน พร้อมลูกล้อที่ติดกับแขน ลูกล้อนั้นจะเลื่อนหมุนไปตามแกนคือ แกน X และ
แกน Y ในขณะที่เลื่อนปลายแขนไป และหากเขาติดโพเทนซิโอมิเตอรไว้ที่ลูกกลิ้งที่หมุนบอกตำแหน่งแกน X และ แกน Y เขาก็น่าจะทำอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งให้กับคอมพิวเตอร์ได้และจุดนี้เองเป็นต้นเหตุให้เกิดความคิดในการออกแบบเมาส์ที่มีใช้ในยุคต่อมา
          เมาส์ตัวแรกยังมีขนาดใหญ่ เพราะต้องใช้แกนหมุนของโพเทนซิโอมิเตอร์ การหมุนนี้จะเป็นสัดส่วนของการเลื่อนเคอร์เซอร์ไปตามแกน X และแกน Y การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปมา
ในระบบคอมพิวเตอร์จึงทำได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็สามารถควบคุมการทำงาน การตรวจสอบและใช้ในการชี้ตำแหน่งได้ง่าย
หันมาใช้ลูกบอลเล็ก
          กลุ่มของ Engelbart ได้พัฒนาเมาส์ต่อไปอีก จนกระทั่งสามารถหาสัดส่วนของการหมุนโพเทนซิโอมิเตอร์กับการเคลื่อนที่จริงบนจอภาพ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม และในที่สุดก็ได้พัฒนามาเป็นลูกบอลเล็กๆที่กลิ้งไปมาได้ทุกทิศทาง เพื่อเลื่อนแกนหมุนสองแกนของโพเทนซิโอมิเตอร์
          อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังได้มีการพัฒนากลไกให้สามารถใช้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้การเปลี่ยนสัญญาณจากอะนาลอกเป็นดิจิตอล การใช้แสงส่องพื้นโดยมีกริดเล็กๆ บอกตำแหน่งการเคลื่อนที่ไปมา เมาส์จึงมีรูปร่างอยางที่เห็น
          เมาส์ถูกนำมาประยุกต์จนเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะบริษัทซีล็อกซ์ได้พัฒนาระบบ GUI ใช้วินโดว์เมนูในรูปแบบที่ใช้ตัวชี้ตำแหน่งช่วยจึงเป็นจุดขยายตัวของการใช้เมาส์ หลังจานั้นต่อมาแอปเปิ้ล ลิซ่าและแมคอินทอชก็หันมาใช้เมาส์เป็นอุปกรณ์ประจำสำหรับการใช้ชี้ตำแหน่ง เมาส์จึงได้รับการกล่าวถึงและแพร่หลายคุ้นเคย
กับผู้ใช้เป็นอย่างยิ่ง
          ในปัจจุบันเมาส์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบวินโดว์ ตลอดจนการชี้ตำแหน่งในเวอร์กสเตชัน ในระบบโอเอสทู ระบบไมโครซอฟต์วินโดว์ ดังรูป

เส้นทางการพัฒนาระบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่ใช้เมาส์เป็นตัวชี้ตำแหน่ง
สงครามปุ่มกด
          ในยุคแรกของ SRI ที่ทำการพัฒนาเมาส์ได้กำหนดให้มีปุ่มกด 3 ปุ่มเรียงกัน บริษัทซีล็อกซ์ก็ใช้ปุ่มกด 3 ปุ่มเช่นกัน ในขณะที่เมาส์ของบริษัทแอปเปิ้ลที่เอามาใช้กับเครื่องแมคอินทอชใช้ปุ่มกดเพียงปุ่มเดียว  และจัดเป็นอุปกรณ์อินพุตหลักสำคัญในระบบ (ดูที่รูป)
          แต่ที่เมาส์ของบริษัทอื่นทั้งหมดที่ใช้กันในขณะนี้ใช้ปุ่มกด 2 หรือ 3 ปุ่ม ลักษณะการกดปุ่มและจะใช้กี่ปุ่มดี จะมีมาตรฐานที่ใช้อย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป ส่วนขนาดและรูปร่างของเมาส์มีขนาด 6 x 10 เซนติเมตร ซึ่งพอเหมาะกับมือของผู้ใช้
          นอกจากสงครามปุ่มกดแล้ว สงครามขั้นต่อมาคือลักษณะของวินโดว์และตำแหน่งต่างๆที่ผู้ใช้จะสามารถเชื่อมติดต่อด้วย ลักษณะของเมนู การทำ Pop หรือ Pull ลักษณะของไดอะลอกที่ใช้ตอบสนองกับผู้ใช้ ตลอดจนรูปร่างของสัญลักษณ์บนจอภาพ

ตัวอย่างของสัญลักษณ์ที่ออกแบบให้แตกต่างกัน
ดิจิไตเซอร์
          ดิจิไตเซอร์เป้นชื่อย่อๆของการเรียก ดิจิไตซิ่งแท็บเล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์อินพุตของไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยกระดานหนึ่งแผ่นกับอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งบางทีเราเรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ กระดานแท็บเล็ตเป็นกระดานเรียบเพื่อใช้เป้นพื้นที่สำหรับการเขียนรูป

ตัวอย่างการใช้ดิจิไตซิ่งแท็บเล็ตในงาน CAD
          บนกระดานแท็บเล็ตจะประกอบด้วยเส้นลวดแนวแกนดิ่งและแนวแกนนอนที่ใช้ในการแทนโคออร์ดิเนตทางแกน X และ Y เส้นลวดภายในตรวจสอบสนามแม่เหล้กที่ส่งออกมา เพื่อเหนี่ยวนำลวดทางแกน X และ Y ชี้บอกตำแหน่ง X,Y
          สเปกของดิจิไตซิ่งแท็บเล็ตที่สำคัญ คือความละเอียดของการกำหนดตำแหน่งหรือเรียกว่ารีโซลูชัน ค่าของรีโซลูชันจะเป้นตัวบอกว่าจุดที่อยู่บนกระดานแท็บเล็ตนี้มีระยะห่างน้อยที่สุดเท่าไดที่จะแยกออกจากกันได้ หากผู้ผลิตใช้ค่ารีโซลูชันเป็น 200 เส้นต่อนิ้ว(lpi) ก็หมายความว่ากระดานขนาด 12 x 12 นิ้ว ค่าความละเอียดของจุดในแนว
แกนทั้งสองจะแสดงจุดได้จากโคออร์ดิเนต 0-2400 หรือค่าความละเอียดบนกระดานแท็บเล็ตนี้เท่ากับ 1/200 นิ้ว
          ส่วนค่าความถูกต้อง(accuracy) เป็นค่าที่ใช้บอกความถูกต้องของการตรวจสอบเทียบกับมาตรฐานที่รู้ เช่น การวัดความถูกต้องของผู้ผลิตกำหนดไว้จาก 0.001-0.035 นิ้ว ซึ่งค่าความถูกต้องนี้จะสัมพันธ์กับจำนวนเส้นต่อนิ้ว
          การต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ การส่งข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ต่อเชื่อมแบบอนุกรมและอัตราการส่งคือการสื่อสารที่จะส่งข้อมูลได้กี่จุดต่อวินาที
การอินพุตด้วยรูปภาพ
           รูปที่ใช้ในงานทางด้านคอมพิวเตอร์เป้นจุดเล็กๆเรียงต่อกันแต่ละจุดจะเป็นเพียงจุดขาวดำ หรือมีสัดส่วนความเข้มหรือสี ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่เรียกว่าอิมเมจสแกนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพงนัก สแกนเนอร์ที่ใช้มือถือ(ดูภาพประกอบในรูปที่ 7)อันหนึ่งราคาไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาท สแกนเนอร์ชนิดสแกนทีละแผ่นก็เป็นอุปกรณ์อินพุตอย่างหนึ่ง ที่จะอ่านค่าภาพเข้าไปเก็บได้
          ภาพที่อ่านได้จะผ่านการกำหนดเป็นจุดของข้อมูล ดังนั้นหากภาพหนึ่งมีรายละเอียดและสแกนเนอร์ให้ความละเอียดได้ 300 จุดต่อนิ้ว ดังนั้นข้อมูลขนาด 12 x 12 นิ้ว จะมีข้อมูลที่ต้องเก็บมากมายมหาศาลเท่ากับ 12 x 12 x 300 x 300           สแกนเนอร์โดยทั่วไปจะเชื่อมต่อกับระบบไมโครคอมพิวเตอร์โดยมีระบบฮาร์ดแวร์ พิเศษควบคุม ทั้งนี้เพราะต้องนำข้อมูลมหาศาลเก็บเข้าไว้ในหน่วยความจำหรือดิสค์ ดังนั้นจึงต้องมีขบวนการดีเอ็มเอพิเศษช่วยประกอบด้วย
          จากสแกนเนอร์เมื่อเก็บภาพได้ ภาพที่ได้จะเป็นตัวอักษรและมีซอฟแวร์ที่พัฒนา ขึ้นมาแปรค่าให้เป้นตัวอักษรที่รู้จักกันดี เราเรียกระบบนี้ว่า OCR-Optical Character Reader คือระบบการรู้นำตัวอักษร ระบบนี้กำลังได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังมีข้อยุ่งยากทางด้านทฤษฎีและการแปรค่าความถูกต้องของการแปรความหมาย
อันเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
บาร์โค้ดหรือรหัสแถบ
          บาร์โค้ดหรือรหัสแถบได้รับการพัฒนาานานกว่า 20 ปีแล้ว รหัสแถบนี้ได้รับการประยุกต์ใช้งานในห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม การทหาร อุตสาหกรรมการผลิตการประกันภัย ฮลฮ รหัสแถบนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่ใช้แถบรหัส ซึ่งต้องอาศัยเครื่องอ่านจึงจะแปรค่าตัวเลขหรือตัวอักษรนั้นๆออกมา
          รหัสแถบที่ใช้ในยุคต้นๆใช้รหัสที่ชื่อ UPC-Universal Product Code ซึ่งได้รับการศึกษาและออกแบบมากว่า 20 ปีแล้ว และหลังจากนั้นก็มีการเสนอแนวความคิดที่ใช้แถบรหัสเพื่อจุดประสงค์อื่น และเน้นให้มีการถอดรหัสได้ง่ายและไม่ผิดพลาด
          ในปัจจุบันความต้องการใช้รหัสแถบมีมากขึ้นจึงต้องมีการสร้างเครื่องถอดรหัสมาใช้ ในซูเปอร์มาเก็ตใช้รหัสแถบที่มีตัวเลข 11 ตัวเพื่อใช้ในการแยกแยะชนิดของสินค้า และเมื่อเครื่องถอดรหัสได้ก็จะมองหาราคาในแฟ้มราคาแล้วพิมพ์รายการหรือรวมยอดให้
          เครื่องถอดรหัสแถบจึงต้องมีจุดมุ่งหมายให้อ่านแถบรหัสและแปรค่าโดยมีความต้องการพิเศษของการใช้รหัสแถบดังนี้
   ความเชื่อถือในการอ่านและถอดรหัสให้ถูกต้อง
ต้องลดต้นทุนการพิมพ์รหัสแถบ
สามารถถอดรหัสให้ได้ถึงแม้รหัสจะมีความหนาแน่นของแถบสูง
ต้องทำให้เครื่องอ่านมีราคาถูกลง
          รหัสแถบที่ใช้กันนั้นใช้หลักการของเดลต้าคอมมูนิเคชั่นในการกำหนดรหัส ลองพิจารณาจากรูป
           รหัสแบบเดลต้าเป็นวิธีที่ง่ายมากโดยการแบ่งเป็นโมดูลย่อยๆ ที่จะกำหนดค่า 0 หรือ 1 โมดูล 1 จะแทน ด้วยช่องว่างสีขาวหรือแถบดำหนึ่งแถบจึงแทนตัวเลข 0 หรือ 1หลายโมดูล ส่วนอีกแบบหนึ่งเราเรียกว่า รหัสความกว้างโดยใช้ความกว้างสองขนาดแทนตัวเลข 0 หรือ 1 ลองพิจารณาจากรูปที่ 8 จะเห็นว่าเราเริ่มที่ 1 ใช้แถบกว้าง แต่ถ้ารหัสตัวต่อมาเป็น 0 ก็จะได้แถบขาวที่แคบกว่า และถ้ามีการเปลี่ยนค่าก็จะเปลี่ยนขนาดด้วย
สิ่งที่สำคัญของการถอดรหัสคือเครื่องสแกนอ่านรหัสแถบจะมีความเร็วในการสแกนไม่เท่ากน เช่น เครื่องแสกนที่ใช้มือถือ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามอาจต้องหาวิธีการซิงโครไนซ์ เพื่อเป็นตัวกำหนความกว้างในตัวเองเสมือนเป็นสัญญาณนาฬิกา
รู้จักกับรหัส UPC
          UPC-Universal Product Code เป็นรหัสที่ใช้ในการแทนรหัสสินค้าที่ใช้ในการแทนรหัสสินค้าที่ใช้ในห้างสรรพสินค้าของอเมริกันมากว่า 15 ปี แต่ละรหัส
ประกอบด้วยตัวเลข 12 หลัก ตัวเลขแต่ละตัวใช้รหัสแบบ 7 โมดูล โดยมีแถบบาร์ สีดำและขาวอย่างละ 2 แถบ เราจะเรียกการแทนรหส UPC แต่ละตัวว่ารหัส delta(7,2) คือใช้ หลักการเดลต้า 7 โมดูล 2 คู่แถบดำขาว

            ตัวเลขแต่ละตัวแบ่งแถบออกมาเป็นบาร์ได้ดังรูป ซึ่งจะเห็นได้ว่าเราแบ่งรหัสตามโมดูลให้มีแถบดำสองแถบและขาวสองแถบอย่างไรก็ตามการกำหนดรหัสนี้จะ
ต้องคำนึงถึงการอ่านด้วยเพราะจากสภาพการอ่านจริงเราสามารถอ่านแถบจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้ ดังนั้นรหัสที่แทนตัวเลขทุกตัวจะต้องอ่านได้จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายโดยไม่ซ้ำกับรหัสอื่น
            การแทนรหัส UPC ของตัวเลข 0-9 แสดงได้ดังตาราง
 

ซ้าย (คู่) ขวา(คู่) ความกว้าง(รูปแบบ)
0 0001101 1110010 3,2,1,1
1 0011001 1100110 2,2,2,1
2 0010011 1101100 2,1,2,2
3 0111101 1000010 1,4,1,1
4 0100011 1011100 1,1,3,2
5 0110001 1001110 1,2,3,1
6 0101111 1010000 1,1,1,4
7 0111011 1000100 1,3,1,2
8 0110111 1001000 1,2,1,3
9 0001011 1110100 3,1,1,2
            ซึ่งจากตารางจะเห็นว่าเลขที่ 1แถบรหัสจะเป็น 2,2,2,1 หมายถึงแถบกว้าง 2 หน่วย กลับกัน ถ้าจากซ้ายเป็น 00110001 จะเป็นแถบขาวกว้างสองโมดูล แถบดำสองโมดูล ขางสองโมดูลและดำหนึ่งโมดูล สังเกตว่า 2,2,2,1 เมื่อกลับข้างจากขวาจะเป็นรหัส 1,2,2,2 ซึ่งก็ไม่ไปซ้ำกับรหัสใด ดังนั้นเมื่อเครื่องอ่านย้อนกลับก็ได้รหัส 1,2,2,2
จึงไม่ซ้ำกับรหัสใดที่จะทำให้ผิดพลาดได้
          รหัส UPC ที่อยู่ในแถบสินค้าแสดงดังรูปที่ 10 รหัสที่อยู่บน UPC แบ่ง โซนตัวเลขเป็นดังนี้
แถบกำหนดของซ้ายใช้ตัวรหัส 101
ตัวเลข 6 ตัวแบบคี่ (คอลัมน์ซ้ายในตารางที่ 1) เลขหลักแรกแทนประเภทอุตสาหกรรม เช่น
        0 เป็นประเภทของชำ
        3 เป็นประเภทยา
        เลขห้าหลักต่อมาคือรหัสผู้ผลิต
แถบกำหนดกึ่งกลาง (01010)
ตัวเลข 6 ตัวแบบคู่ (คอลัมน์ขวานตารางที่ 1) เลขห้าหลักแทนรหัสชนิดหนึ่งหลักเป็นตัวเลข check digit
ชื่อรหัส โมดูล จำนวนสัญลักษณ์ที่แทนได้ จำนวนโมดูล
UPC delta (7,2) 10 7
Codel128 delta (11,3) 106 11
Codel93 delta (9,3) 48 9
Codel39 Width (8,3) 44 13.5 (ค่าเฉลี่ย)
Codebar Width (7,2) 16 10
แถบกำหนดของขวา
            นอกจากนี้จังมีการกำหนดรหัสแถบเป็นแบบอื่นอีก เช่น รหัส 128 เป็นรหัสแบบเดลต้า 11 โมดูล 3 คู่แถบแทนรหัสแต่ละตัวได้ 106 ตัว ซึ่งนำมาใช้ในการแทนตัวอักษรเหมือนรหัสแอสกีได้ตารางข้างต้น เป็นตารางที่สรุปถึงรหัสแถบแบบต่างๆ ซึ่งมีวิธีการกำหนดเป็นมาตรฐานตลอดจนการใช้งาน กันในโอกาสต่างๆ เพราะรหัส
UPC แทนได้เฉพาะตัวเลข 0-9 ย่อมไม่เพียงพอจึงต้องมีรูปแบบอย่างอื่นเข้ามาช่วยเสริมรหัสแถบทีใช้ในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปในด้านการประยุกต์ และจะมีบทบาท
ที่สำคัญในงานต่างๆ อีกมากแม้แต่บัตรเอทีเอ็มก็มีการบันทึกในแถบแม่เหล็กแบบ รหัสแถบอนาคตยังต้องพัฒนาต่อไปด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าเช่นนี้ จะมีอุปกรณ์อินพุตอีกหลายรูปแบบที่นำมาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น OMR-Optical Mark Reader ที่ใช้ในการตรวจสอบ ระบบรับรู้เสียงพูด เป็นต้น
            อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีหลายอย่างยังคงต้องพัฒนา และมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ เช่น การอ่านข้อความให้คอมพิวเตอร์เสมือนการพิมพ์การอ่านภาพ และแปลความหมายในลักษณะที่เรียกว่า image processing ฮลฮ ก็เห็นจะต้องคอยติดตามดูระบบอินพุตที่จะพัฒนาต่อไปว่าจะพัฒนาก้าวหน้าได้สักเพียงไร

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ
แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน

กับแล็ปท็อ
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก
สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation)

ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร
การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้
สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที


มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)
มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก
เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด
ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

 
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน

ชนิดของคอมพิวเตอร์

 
 
 
 
 
 
ชนิดของคอมพิวเตอร์
พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชินซิลิกอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)
การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามพอจะจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งาน

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบ สั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือ คณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูป แบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง ตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

     มา รู้จักคอมพิวเตอร์ เครื่องคอม pc เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในสำนักงานปัจจุบัน คอมพิวเตอร์แบบ notebook เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กสามารถหิ้วหรือพกพาเคลื่อนย้ายไปใช้งานตามที่ ต่างๆได้สะดวกที่เหมาะใช้ส่วนตัว การเดินทาง
     ส่วนประกอบต่างๆในคอมพิวเตอร์
1.cpu เป็นหน่วยประมวลผลงาน ย่อมาจาก Central Processing Unit เป็นส่วนที่ทำหน้าที่คำนวณและประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีชิป Chip เป็นอุปกรณ์สำคัญและมีแผ่นวงจรหน่วยความจำเป็นอุปกรณ์ประกอบ ปัจจุบันชิปนิยมใช้กันหลายเบอร์ ได้แก่ 386 468 หรือ 586 (pentium)
2.monitor เป็นหน่วยแสดงข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและภาพ โดยรับสัญญาณจากแผงวงจร Video Graphic Arry (Vag card)ซึ่งจอภาพนี้มี 2 แบบ
      2.1 จอภาพแบบสีเดียวหรือเรียกว่าจอแบบ Monochrome แสดงสีเดียว คือ เขียว หรือ เทา
     2.2 จอภาพหลายสี หรือ ที่เรียกว่าจอแบบ VGA หรือ Video Graphic Array แสดงสีตั้งแต่ 16 สีถึงล้านเฉดสี ภาพที่ได้จะละเอียดมากน้อยขึ้นอย่กับความละเอียดของจอภาพ
3.keyboard หรือแป้นพิมพ์ เป็นหน่วยในการนำข้อมุลเข้าหรือออก บนแป้นพิพ์แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ
     3.1 ส่วนที่เหมือนกับแป้นพมิพ์ดีดทั่วไป
     3.2 ส่วนที่เป็นตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ
     3.3 ส่วนที่เป็น FUNCTION KEY หรือคีย์พิเศษ มี 12 ปุ่ม ใช้ในการทำหน้าที่พิเศษตามโปรแกรมต่างๆกำหนด
     3.4 ส่วนที่ประกอบเป็นคีย์ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะอย่างตามคีย์เช่น ปุ่มลูกศรตามทิศทางต่างๆ 4 ปุ่ม
4.pinter หรือเครื่องพิมพ์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยแสดงผลข้อมูลออกทางกระดาษเครื่องพิมพ์มีหลายชนิด
     4.1 แบบเข็มกระแทก หรือ DOT MATRIX เหมาะสำหรับใช้งานสำนักงาน สามารถพิมพ์ลงกระดาษไขได้
     4.2 แบบพิมพ์ภาพเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร หรือ LASER PRINTER เหมาะสำหรับท่านที่ต้อง
การความคมชัดสูง การทำต้นแบบ อาร์ตเวิร์ค
     4.3 แบบฉีดพ่น หรือ inkjet เหมาะสำหรับท่นที่ต้องการพิมพ์ให้มีสีสรรสวยงามตามสีจริง สามารถพิมพ์สติกเกอร์ พิมพ์ลงแผ่นใส ชนิดสีได้
5.MOUSE หรืออุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเป็นอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับชี้ว่า ขณะนี้ CURSOR ชี้ตำแหน่งใดบนจอภาพ เมื่อเรากด DOUBLE CLICK ที่ CURSOR อย่ที่ภาพใด แสดงว่าเราเลือกคำสั่งที่ถูกด้วยรูปภาพนั้นมาทำงานเครื่องจะทำงานเสมือนกับ เราสั่งที่บรรทัดคำสั่งหรือ command line
6.UPS ย่อจาก UNINTERRUPETED POWER SUPPY หรือเราเรียกว่า เครื่องสำรองไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ชนิดแห้งอยู่ภายใน ทำหน้าที่สำรองควบคุมแรงดันกระแสไฟให้คงที่อยู่เสมอเมือเกิดกระแสไฟ้ตกและ กระจ่ายไฟรับรองให้เมื่อไฟ้ฟ้าดับ